ภัยเงียบของท่านชาย Created by doahost on 1/21/2013 10:29:23 PM ภัยเงียบของท่านชาย
ปัจจุบันคนมีอายุยืนขึ้นจึงเป็นโรคต่างๆ ได้มากกว่าคนสมัยก่อน
ชายสูงอายุมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าชายที่มีอายุน้อยกว่า 40-50 ปี
ยิ่งมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ติดอันดับ 5 ของโรคมะเร็งที่พบในเพศชายไทย
และเป็นอันดับที่ 2 ของโรคมะเร็งเพศชายที่เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช
ภัยเงียบของท่านชาย
ปัจจุบันคนมีอายุยืนขึ้นจึงเป็นโรคต่างๆ ได้มากกว่าคนสมัยก่อน
ชายสูงอายุมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าชายที่มีอายุน้อยกว่า 40-50 ปี
ยิ่งมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ติดอันดับ 5 ของโรคมะเร็งที่พบในเพศชายไทย
และเป็นอันดับที่ 2 ของโรคมะเร็งเพศชายที่เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช
หลายคนไม่ทราบหรือลืมไปแล้วว่า
ต่อมลูกหมากคืออะไร อยู่ส่วนไหนของร่างกาย และมีหน้าที่อะไร
บ้างก็เข้าในว่าเป็นลูกอัณฑะไปเสียนี่
ลูกหมาก
เป็นอวัยวะหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศชาย มีหน้าที่ผลิตส่วนประกอบของน้ำหล่อลื่น
และน้ำสุจิหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ลูกหมากของเพศชายวัยเจริญพันธุ์ยาวประมาณ 3
เซนติเมตร หนักประมาณ 20 กรัม ลักษณะรูปร่างใกล้เคียงกับลูกหมาก
ที่คนสมัยก่อนใช้รับประทานกับพูล ปูนแดงและยาเส้น หรือยาจืด
เด็กสมัยนี้คงไม่รู้จัก อยู่ภายในช่องเชิงกรานใต้กระเพาะปัสสาวะ
ติดด้านหน้าลำไส้ตรงบริเวณทวารหนัก ล้อมรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น
ที่เป็นทั้งทางเดินของน้ำปัสสาวะและทางหลั่งน้ำกามลูกหมากประกอบด้วยต่อมเล็กๆ
จำนวนมาก ผลิตสารเหลวเป็นองค์ประกอบของน้ำอสุจิประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ต่อมเหล่านี้ต้องการฮอร์โมนเพศชาย Androgens เพื่อทำงานโดยได้ฮอร์โมนจากลูกอัณฑะต่อมหมวกไตและต่อมลูกหมากเอง
เมื่อฮอร์โมนเหล่านี้ขาดความสมดุล เซลล์แบ่งตัวผิดปกติจะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
เจริญเติบโต ขยายตัวอยู่ในลูกหมาก สามารถลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง
และกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก
แบ่งตามอาการ 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มะเร็งมีขนาดเล็ก ยังอยู่ในต่อมลูกหมาก
ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ
ระยะที่ 2 มะเร็งมีขนาดโตขึ้น สามารถตรวจพบทางทวารหนัก
ผู้ป่วยปวดปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะลำบาก
ระยะที่ 3 มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น
และลุกลามออกนอกลูกหมาก แต่ยังไม่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่นๆ
ท่อปัสสาวะส่วนต้นถูกกดทับ มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ ปัสสาวะลำบากมากขึ้น
ต้องเบ่งบางครั้งอาจมีเลือดปนและอาจเจ็บปวดเมื่อหลั่งน้ำอสุจิ
ระยะที่ 4 มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
กระดูกและอวัยวะใกล้เคียงนอกจากปัสสาวะบ่อยและลำบากมากขึ้นแล้ว
จะมีอาการปวดกระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อตะโพก กระดูกซี่โครง หัวไหล่
นอกจากนั้นจะเบื่ออาหาร เพลีย น้ำหนักลด อาจเดินไม่ได้เนื่องจากกระดูกสันหลังไปกดทับไขสันหลัง
เป็นอัมพาต ซึ่งระยะสุดท้ายนี้ โอกาสรักษาให้หายขาดได้น้อยมาก
เพียงแต่ยืดเวลาการเจ็บป่วยและอายุออกไปได้พอสมควรเท่านั้น
การตรวจและรักษา
เนื่องจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ไม่แสดงอาการใดๆ ในระยะแรกชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
ควรได้รับการตรวจต่อมลูกหมากปีละครั้ง
โดยวิธีทั่วไปๆ คือ
1.
การตรวจทางทวารหนัก Digital Rectal
Examination โดยแพทย์ใช้นิ้วสอดเข้าทางรูทวารหนัก
ตรวจดูความผิดปกติและการเปลี่ยนแปลงของลูกหมาก่
2.
การเจาะเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก
Prostate Specific Antigen PSA ซึ่งค่า 0.4 ng/ml เป็นค่าปานกลาง 10 gm/ml เป็นค่าสูง ถ้าค่าสูงกว่า 4
ng/ml ควรตรวจสอบการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ค่า PSA ยิ่งสูงยิ่งมีโอกาสเป็นมะเร็งสูง
อย่างไรก็ตามค่าที่พบได้ในต่อมลูกหมากโตและอักเสบ
หลังจากตรวจเบื้องต้นแล้ว
และสงสัยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์จะตรวจยืนยัน โดยเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก Prostate biopsy ด้วยการสอดกล้องอุลตร้าซาวน์ และเข็มเจาะชิ้นเนื้อ เข้าทางรูทวารหนัก เจาะผ่านทะลุลำไส้ตรง
เอาชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากไปตรวจทางพยาธิวิทยา
เมื่อทราบแน่นอนว่าเป็นเนื้อร้าย
ก็จะส่งไปทำ bone scan โดยฉีดรังสีเข้าทางเส้นเลือด แล้วรอ 3 ชั่วโมง
ระหว่างนั้นให้ปัสสาวะมากๆ
เพื่อขับรังสีออกจากร่างกายเหลือเพียงส่วนที่เกาะติดอยู่ที่ข้อกระดูกและชิ้นส่วนกระดูก
จากนั้นเข้านอนนิ่งๆ 30-45 นาที ในเครื่องสแกน ก็จะได้ภาพโครงกระดูกที่มีรอยดำๆ
ตรงส่วนต่างๆ ของกระดูกซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะทราบว่า
มีการกระจายไปยังกระดูกแล้วหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
จากนั้นแพทย์จะวางแผนการรักษา
โดยพิจารณาจากอาการ การแพร่กระจายของมะเร็งระยะต่างๆ อายุ และสุขภาพของผู้ป่วย
อาจใช้วิธีการผ่าตัดลูกหมากออกทั้งหมด Redical
Surgery ปัจจุบันการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ส่องกล้อง
Robotic Laparoscopic Redical Prostatectom ให้ผลดีมากกับการรักษามะเร็งระยะแรก
หรืออาจใช้วิธีการฉายรังสี ฝังแร่ ใช้ฮอร์โมน ตลอดจนวิธีการผสมผสานต่างๆ
ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม
สาเหตุ ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง
มีปัจจัยเสี่ยง คือ อายุ กรรมพันธุ์ เชื้อชาติ
โภชนาการ ชีววิถี และยารักษาโรค ฯลฯ
แต่อายุเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอันดับแรก
ในอเมริกาผู้ที่มาตรวจและพบว่าเป็นโรคนี้ มีอายุเฉลี่ย 70 ปี ส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวมาก่อนว่าเป็นโรคนี้
และมักจะตายด้วยโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคปอดบวม
โรคไตวาย โรคมะเร็งอื่นๆ
หรือไม่ก็แก่ตายก่อนที่มะเร็งต่อมลูกหมากจะออกฤทธิ์อย่างสุดๆ
เพราะมะเร็งชนิดนี้เจริญเติบโตและขยายตัวช้า
คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าคนยุโรปและอเมริกัน
ส่วนคนผิวดำเป็นโรคนี้มากที่สุด
ประสบการณ์และคำชี้แนะ
ถือโอกาสตอนตรวจสุขภาพประจำปี
เจาะเลือดตรวจค่าสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก ครั้งแรกพบว่าเท่ากับ 2 mg/ml
ปีต่อมาตรวจพบว่ามีค่าสูงถึง 13 ng/ml ทั้งๆ
ที่ไม่เคยมีอาการปัสสาวะผิดปกติแต่อย่างใด
เมื่อไปพบแพทย์และเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก ตรวจพบว่าเป็นเนื้อร้าย ต้องสแกนกระดูก
bone scans ปรากฏว่ามะเร็งยังไม่กระจายไปยังกระดูกส่วนต่างๆ
แพทย์แจ้งให้ทราบว่าเป็นมะเร็งระยะที่ 2 ยังไม่กระจายออกนอกลูกหมาก
และแนะนำให้ผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ส่องกล้อง ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง
รวมเวลาตั้งแต่วางสลบจนฟื้นขึ้นมาประมาณ 3 ชั่วโมง นอนพักฟื้น 7
วันกลับบ้านได้และประมาณ 20 วัน แผลหน้าท้องขนาด 1-2 ซม. จำนวน 6 วัน แผลแห้งสนิทและขับรถยนต์ได้
ต่อมาไปพบแพทย์ทราบว่าชิ้นเนื้อทุกชิ้นรวมทั้งลูกหมากที่ตัดออกไป
ตรวจแล้วมีสภาพน่าพอใจ คือไม่พบมะเร็งกระจายออกนอกลูกหมากและเมื่อตรวจเลือดได้ค่า PSA เท่ากับ 0.002 ng/ml แพทย์ให้ไปปรึกษาแพทย์ทางรังสีวิทยา
พิจารณาฉายรังสีเพื่อผลดีในระยะยาว หลังจากฉายแสง 32 ครั้ง โดยวิธีกำหนดปริมาณและความเข้มรังสี
ให้ตรวจจุด Intensity Modulated
Rediation Thetary หลังจากนั้น
ต้องพบแพทย์ติดตามผลเป็นระยะๆ ทุก 3-6 เดือน ปัจจุบันผ่านมา 4 ปี
ยังไม่มีอาการผิดปกติแต่ต้องตามติดต่อไป จนกว่าจะไม่มีโอกาสติดตาม การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ส่องกล้องระบบ da
vince โดยบริการโรงพยาบาลของรัฐ มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นประมาณ 3
แสน 2 หมื่นบาท เบิกได้ประมาณ 6 หมื่นบาท ที่เบิกไม่ได้เป็นค่าบริการผ่าตัด
หัตถการ ประมาณ 2 แสน 5 หมื่นบาท
ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมค่าตรวจสอบอื่นๆ ก่อนผ่าตัด เช่น
การเจาะชิ้นเนื้อลูกหมาก การสแกนกระดูก และการตรวจสอบความแข็งแรงของหัวใจซึ่งเบิกได้บ้างไม่ได้บ้าง
จะเห็นได้ว่ามะเร็งต่อมลูกหมากมากับความเงียบจริงๆ
ไม่มีแสดงอาการใดเลยในระยะแรกและถ้าชะล่าใจไม่ตรวจสุขภาพ
จนปรากฏอาการและไม่รู้เท่าถึงการณ์ มะเร็งอาจลุกลามไปเป็นระยะที่ 3 หรือ 4 ได้ ดังนั้น ชายใดอายุ 50 ปีขึ้นไป
ควรรับการตรวจต่อมลูกหมากทุกปี แม้ไม่มีอาการแต่ถ้าบิดาหรือพี่ชายเป็นโรคนี้
ควรตรวจเสียตั้งแต่เมื่อมีอายุ 40-45 ปี
เพื่อความไม่ประมาทอย่าถือคติ ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม
แล้วจะได้มะเร็งต่อมลูกหมากไปแทนและเสียโอกาสรักษาในระยะแรก ข้อความหน้าห้องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ
โรงพยาบาลศิริราชเขียนไว้ว่า “ท่านโชคร้ายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
แต่ท่านโชคดีที่เป็นระยะแรกๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้” ขอให้ท่านโชคดีที่สุด
ไม่เป็นทั้งมะเร็งต่อมลูกหมากและโรคร้ายแรงอื่นๆ
จรัสพร ถาวรสุข